17
เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ บทที่ 4 การช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่มีปัญหาสุขภาพเจ็บป่วยไม่ซับซ้อน 4.1 ผู้ที่มีปัญหาระบบประสาทและการเคลื่อนไหว อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ วัตถุประสงค์ของการเรียน เมื่อสิ้นสุดการเรียนนักศึกษาสามารถ 1. บอกความผิดปกติในระบบประสาทและการเคลื่อนไหวได้ 2. บอกวิธีดูแลผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติในระบบประสาทและการเคลื่อนไหวได้ ร่างกายมนุษย์มีอวัยวะที่สาคัญต่อชีวิตมากที่สุดคือสมอง น้าหนักของสมองจะสูงสุดราว 1400 กรัม ทีอายุ 20 ปี และคงท่จนถึงอายุประมาณ 40 – 50 ปี จากนั้นลดลงราว 2 – 3 % ต่อ 10 ปี จนกระทั่งอายุ 80 ปี น้าหนักสมองจะลดลงราว 10 % จากในวัยหนุ่มสาว เนื่องจากเซลล์ประสาทลดจานวนลง ทาให้ขนาดของ สมองเหี่ยวลง ช่องว่างระหว่างกลีบสมองถ่างกว้างออก สมองบางส่วนจะฝ่อตัวมากกว่าส่วนอื่น เช่นส่วนทีรับผิดชอบเกี่ยวกับความคิดอ่าน สติปัญญาที่กลีบสมองส่วนหน้า หรือส่วนซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับความจาทีtemporal cortex จะมีการสูญเสียเซลล์ประสาทมากที่สุดกว่าส่วนอื่น ขณะที่ก้านสมองและไขสันหลังไม่ค่อย มีการเปลี่ยนแปลง Cr.:https://www.google.com/search?rlz=1C1CHBF_enTH752TH752&biw=1920&bih=888&tbm=isch&sxsrf=ACYBGNRrwU3x5U5QXBsr9LeIDSKOQVOxqA%3A1570113275882&sa=1&e i=-waWXf_CNdeR9QPunYTQDA&q=5+sensation+elderly+tounge&oq=5+sensation+elderly+tounge&gs_l=img.3...18119.25962..26431...0.0..0.104.622.5j2......0....1..gws-wiz- img.5NVvmtABkIw&ved=0ahUKEwi_rMPgp4DlAhXXSH0KHe4OAcoQ4dUDCAc&uact=5#imgrc=_

บทที่ 4 การช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่มีปัญหาสุขภาพเจ็บป่วยไม่ซับซ้อน ·

  • Upload
    others

  • View
    14

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

บทท่ี 4 การช่วยเหลือดูแลผู้ใหญ่มีปัญหาสุขภาพเจ็บป่วยไม่ซับซ้อน

4.1 ผู้ที่มีปัญหาระบบประสาทและการเคลื่อนไหว

อ.เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ

วัตถุประสงค์ของการเรียน เมื่อสิ้นสุดการเรียนนักศึกษาสามารถ

1. บอกความผิดปกติในระบบประสาทและการเคลื่อนไหวได้

2. บอกวิธีดูแลผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติในระบบประสาทและการเคลื่อนไหวได้

ร่างกายมนุษย์มีอวัยวะที่ส าคัญต่อชีวิตมากที่สุดคือสมอง น้ าหนักของสมองจะสูงสุดราว 1400 กรัม ที่

อายุ 20 ปี และคงท่ีจนถึงอายุประมาณ 40 – 50 ปี จากนั้นลดลงราว 2 – 3 % ต่อ 10 ปี จนกระท่ังอายุ 80

ปี น้ าหนักสมองจะลดลงราว 10 % จากในวัยหนุ่มสาว เนื่องจากเซลล์ประสาทลดจ านวนลง ท าให้ขนาดของ

สมองเหี่ยวลง ช่องว่างระหว่างกลีบสมองถ่างกว้างออก สมองบางส่วนจะฝ่อตัวมากกว่าส่วนอื่น เช่นส่วนที่

รับผิดชอบเกี่ยวกับความคิดอ่าน สติปัญญาที่กลีบสมองส่วนหน้า หรือส่วนซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับความจ าที่

temporal cortex จะมีการสูญเสียเซลล์ประสาทมากท่ีสุดกว่าส่วนอื่น ขณะที่ก้านสมองและไขสันหลังไม่ค่อย

มีการเปลี่ยนแปลง

Cr.:https://www.google.com/search?rlz=1C1CHBF_enTH752TH752&biw=1920&bih=888&tbm=isch&sxsrf=ACYBGNRrwU3x5U5QXBsr9LeIDSKOQVOxqA%3A1570113275882&sa=1&e

i=-waWXf_CNdeR9QPunYTQDA&q=5+sensation+elderly+tounge&oq=5+sensation+elderly+tounge&gs_l=img.3...18119.25962..26431...0.0..0.104.622.5j2......0....1..gws-wiz-

img.5NVvmtABkIw&ved=0ahUKEwi_rMPgp4DlAhXXSH0KHe4OAcoQ4dUDCAc&uact=5#imgrc=_

2

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

ระบบประสาทสัมผัสในผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลง ในด้านการรับรสและกลิ่น เนื่องจากต่อมรับรสที่ลิ้น

ลดจ านวนลง ประกอบกับน้ าลายจะข้นขึ้น ท าให้ช่องปากแห้งได้ง่าย ท าให้ความสามารถในการรับรสด้อย

ประสิทธิภาพลง ผู้สูงอายุจึงมักรับประทานอาหารรสจัดขึ้น โดยเฉพาะรสเค็มและรสหวาน

Cr :

https://www.google.com/search?rlz=1C1CHBF_enTH752TH752&biw=1920&bih=888&tbm=isch&sxsrf=ACYBGNRrwU3x5U5QXBsr9LeIDSKOQVOxqA%3A1570113275882&sa=1&ei=-

waWXf_CNdeR9QPunYTQDA&q=5+sensation+elderly+tounge&oq=5+sensation+elderly+tounge&gs_l=img.3...18119.25962..26431...0.0..0.104.622.5j2......0....1..gws-wiz-

img.5NVvmtABkIw&ved=0ahUKEwi_rMPgp4DlAhXXSH0KHe4OAcoQ4dUDCAc&uact=5#imgrc=_

การมองเห็น มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ที่เปลือกตาบนจะตกลงเล็กน้อย น้ าตาในเบ้าตามากข้ึน เนื่องจาก

การอุดตันของท่อทางเดินน้ าตาและอาการเคืองตา เมื่อผู้ที่มีต้อกระจกอยู่ในที่ ๆ มีแสงสว่างจ้า ม่านตามีขนาด

เล็กลงเนื่องจากกล้ามเนื้อส่วนที่ควบคุมการขยายตัวท างานลดลง แก้วตาหรือเลนส์จะขุ่นขึ้นจากการสะสม

โปรตีนที่เสื่อมสภาพ ท าให้แสงผ่านเลนส์ลดลง นอกจากนั้นการมองเห็นสีจะลดลง 25% เมื่ออายุ 50 ปี และ

จะลดลงถึง 50 % เมื่ออายุ 70 ปี ผู้สูงอายุจึงมักชอบสีที่สดสว่างมากกว่าสีอ่ืน

การได้ยิน มีการเปลี่ยนแปลงของหูชั้นในที่เรียก Cochlear ท าให้สูญเสียความสามารถในการได้ยินเสียง

ความถี่สูงไป แต่ยังสามารถได้ยินเสียงในความถี่ต่ าเหมือนวัยหนุ่มสาวที่เรียก Presbycusis

3

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

Cr :

https://www.google.com/search?rlz=1C1CHBF_enTH752TH752&biw=1920&bih=888&tbm=isch&sxsrf=ACYBGNRrwU3x5U5QXBsr9LeIDSKOQVOxqA%3A1570113275882&sa=1&ei=-

waWXf_CNdeR9QPunYTQDA&q=5+sensation+elderly+tounge&oq=5+sensation+elderly+tounge&gs_l=img.3...18119.25962..26431...0.0..0.104.622.5j2......0....1..gws-wiz-

img.5NVvmtABkIw&ved=0ahUKEwi_rMPgp4DlAhXXSH0KHe4OAcoQ4dUDCAc&uact=5#imgrc=_

การรับรู้การสัมผัส จากความร้อน ความเย็น เปลี่ยนไปท าให้รู้สึกร้อนง่าย หนาวง่าย หรือไม่รู้สึกหนาว

ไม่รูส้ึกร้อนเช่นเดิม

การทรงตัว พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง โดยเส้นประสาทที่รับผิดชอบอยู่ใกล้เคียงกับส่วนที่รับผิดชอบการ

ได้ยิน อาการวิงเวียนศีรษะรู้สึกว่าบ้านหมุน จึงเป็นสิ่งที่ผิดปกติเสมอ โดยเฉพาะเวลาเปลี่ยนท่าทางและทิศทาง

ของศีรษะรวดเร็ว

Cr :

https://www.google.com/search?rlz=1C1CHBF_enTH752TH752&biw=1920&bih=888&tbm=isch&sxsrf=ACYBGNRrwU3x5U5QXBsr9LeIDSKOQVOxqA%3A1570113275882&sa=1&ei=-

waWXf_CNdeR9QPunYTQDA&q=5+sensation+elderly+tounge&oq=5+sensation+elderly+tounge&gs_l=img.3...18119.25962..26431...0.0..0.104.622.5j2......0....1..gws-wiz-

img.5NVvmtABkIw&ved=0ahUKEwi_rMPgp4DlAhXXSH0KHe4OAcoQ4dUDCAc&uact=5#imgrc=_

สติปัญญา พบว่าผู้สูงอายุจะสูญเสียความจ าระยะสั้น ต้องใช้เวลานานขึ้นในการนึกทบทวน ขณะที่

ความจ าระยะยาวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนานมาแล้วจะจ าได้ดีกว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาทาง

ตรรกวิทยาลดลง ส่วนความสามารถในการเรียนรู้จะลดลงเมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป ปฏิกิริยาของร่างกายในการ

ตอบสนองทันทีต่อสิ่งเร้าลดลงในคนอายุมากกว่า 70 ปีด้วย

4

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

การนอน พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมองขณะหลับ ท าให้ระยะเวลาที่อยู่ในระดับหลับ

สนิทสั้นลง ท าให้ตื่นกลางดึกได้บ่อย ๆ โดยเฉพาะในคนอายุ 65 – 95 ปี ผู้สูงอายุจึงมักรู้สึกว่าตัวเองนอนหลับ

เคลิ้ม เหมือนนอนไม่เต็มอ่ิมและพยายามพ่ึงยานอนหลับมากเกินจ าเป็น

ระบบประสาทอัตโนมัติ จะลดประสิทธิภาพลง มีผลต่ออาการผิดปกติที่พบบ่อยในผู้สูงอายุเช่นอาการ

หน้ามืดเมื่อลุกขึ้นยืนหรือนั่งเร็ว ๆ จากความดันโลหิตที่ลดลง อาการปัสสาวะราด และการเสื่อมสมรรถภาพ

ทางเพศ ชีพจรไม่เพ่ิมมากเท่าที่ควรเมื่อมีการออกก าลังกาย ท าให้สมรรถภาพในการออกก าลังกายมีขีดจ ากัด

ความเสี่ยง 10 ประการของความเสี่ยงระบบประสาทของผู้สูงอายุ

1) อารมณ์ซึมเศร้า (Depression)

ปัญหาสุขภาพจิตคือปัญหาส าคัญในวัยสูงอายุ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้ามีโอกาสเป็นได้มากกว่าวัยอื่น

เพราะการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายและบทบาทในสังคม อาทิ ผมขาว ผิวหนังเหี่ยวย่น นั่งและยืนนาน ๆ ไม่ได้

เป็นต้น หากผู้สูงอายุรับไม่ได้กับภาวะที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ส่งผลให้เกิดอาการ

เบื่อหน่าย หมดก าลังใจ ขาดความรัก รู้สึกว่าไม่มีคุณค่าและไม่มีใครต้องการ

ดังนั้นควรหมั่นสังเกตผู้สูงอายุที่ใกล้ชิด หากมีภาวะแยกตัว เบื่อหน่าย หรือทุกข์ใจ ไม่ควรละเลย รีบ

ปรึกษาแพทย์ทันที และควรหมั่นให้ก าลังใจ เปิดโอกาสให้ตัดสินใจ ตลอดจนมีส่วนร่วมในการท ากิจกรรมของ

ครอบครัว เพื่อป้องกันผู้สูงอายุจากภาวะซึมเศร้า รวมถึงการตรวจประเมินความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและ

ความผิดปกติทางด้านอารมณ์กับแพทย์เฉพาะทางจะช่วยให้รับมือได้อย่างเข้าใจ

Cr :

https://www.google.com/search?rlz=1C1CHBF_enTH752TH752&biw=1920&bih=888&tbm=isch&sxsrf=ACYBGNRrwU3x5U5QXBsr9LeIDSKOQVOxqA%3A1570113275882&sa=1&ei=-

waWXf_CNdeR9QPunYTQDA&q=5+sensation+elderly+tounge&oq=5+sensation+elderly+tounge&gs_l=img.3...18119.25962..26431...0.0..0.104.622.5j2......0....1..gws-wiz-

img.5NVvmtABkIw&ved=0ahUKEwi_rMPgp4DlAhXXSH0KHe4OAcoQ4dUDCAc&uact=5#imgrc=_

2) การล้ม (Fall)

5

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

การล้มเป็นปัญหาที่พบบ่อยและอันตรายมากในวัยสูงอายุ จากสถิติของกรมควบคุมโรค กระทรวง

สาธารณสุขระบุว่า ในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อการล้ม 28-35% ส่วนในผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อการ

หกล้มเพ่ิมข้ึนเป็น 32-42% โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนที่ไปเข้าห้องน้ า เนื่องจากสูญเสียการทรงตัว เพราะสมอง

กล้ามเนื้อ กระดูก ข้อเกิดความเสื่อม การได้ยินและมองเห็นลดลง ท าให้มีโอกาสลื่นล้มได้ง่าย ซึ่งการบาดเจ็บมี

ตั้งแต่เล็กน้อยไปถึงข้ันรุนแรง พิการและเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงควรดูแลใส่ใจและหมั่นสังเกตการทรงตัวของ

ผู้สูงอายุ หากเกิดการล้มควรให้อยู่ในท่าเดิมและรอผู้เชี่ยวชาญมาท าการเคลื่อนย้ายเพ่ือท าการรักษาอย่าง

ถูกต้อง และแม้จะบาดเจ็บไม่มากก็ควรพบแพทย์เพ่ือตรวจเช็กอีกครั้ง ที่ส าคัญควรมีการตรวจประเมินการทรง

ตัวส าหรับผู้สูงอายุด้วยการตรวจ Tandem Standing Test เพ่ือฝึกการทรงตัว การเดิน และออกก าลัง

เสริมสร้างกล้ามเนื้ออย่างถูกต้อง

Cr : https://www.google.com/search?rlz=1C1CHBF_enTH752TH752&biw=1920&bih=888&tbm=isch&sxsrf=ACYBGNRrwU3x5U5QXBsr9LeIDSKOQVOxqA%3A1570113275882&sa=1&ei=-

waWXf_CNdeR9QPunYTQDA&q=5+sensation+elderly+tounge&oq=5+sensation+elderly+tounge&gs_l=img.3...18119.25962..26431...0.0..0.104.622.5j2......0....1..gws-wiz-

img.5NVvmtABkIw&ved=0ahUKEwi_rMPgp4DlAhXXSH0KHe4OAcoQ4dUDCAc&uact=5#imgrc=_

3) สมองเสื่อม (Alzheimer's Disease)

ภาวะสมองเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการรู้

คิด (Cognitive Function) ซึ่งเป็นกระบวนการรับรู้ เรียนรู้ และวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากสมองท าหน้าที่

ผิดปกติไปจากเดิม เสื่อมลง จากการที่อายุมากขึ้น โรคต่าง ๆ อาทิ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ซึมเศร้า

โรคทางระบบประสาท เป็นต้น รวมถึงพันธุกรรมก็มีส่วนด้วยเช่นกัน

6

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

ดังนั้นการกระตุ้นการรู้คิดผ่านกิจกรรมต่าง ๆ จึงมีประโยชน์อย่างมาก เช่น จับคู่ภาพ ทายค า ต่อจิ๊ก

ซอว์ วาดรูป หมากรุก เป็นต้น เพื่อกระตุ้นการคิด อ่าน สมาธิ ความจ า โดยมุ่งเน้นขั้นตอนการท ากิจกรรมที่

ชัดเจนเข้าใจง่ายมากกว่าผลของกิจกรรม นอกจากนี้ยังควรตรวจประเมินความสามารถด้านการเรียนรู้และการ

รับรู้ เพื่อหาความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมกับแพทย์เฉพาะทาง

4) กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscle Weakness)

ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงกล้ามเนื้ออ่อนแรง เพราะจ านวนขนาดและเส้นใยของกล้ามเนื้อบวกกับก าลังการ

หดตัวของกล้ามเนื้อลดลง ท าให้เคลื่อนไหวไม่คล่องตัว ซึ่งอาการอ่อนแรงมีหลายระดับ ตั้งแต่ก ามือแน่น ก ามือ

ไม่แน่น ไปจนถึงการยกขา บางคนเม่ือเป็นแล้วอาจมีอาการช่วงสั้น ๆ แล้วหายไป แต่บางครั้งไม่มีสัญญาณ

เตือนและมีอาการรุนแรงได้เช่นกัน ดังนั้นการหมั่นสังเกตและตรวจเช็กกับแพทย์เฉพาะทาง อย่างการตรวจ

ประเมินก าลังกล้ามเนื้อขา ด้วยการตรวจ Five Time Sit to Stand จะช่วยให้ได้รับค าปรึกษาที่เหมาะสมและ

รับมือได้ทันท่วงที

5) เดินช้า (Changes in gait)

สมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุจะเสื่อมลงตามวัย โดยเฉพาะการเดินที่ช้าลง การก้าวเท้าที่สั้นลง

เนื่องจากความเสื่อมของเนื้อเยื่อข้อกระดูกและกล้ามเนื้อ การประหยัดพลังงานที่ใช้ในการยืน เดิน อีกทั้งเมื่อ

ผู้สูงอายุเจ็บป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาลบางครั้งไม่สามารถเดินได้ ดังนั้นการออกก าลังกายด้วยการเดินวันละ

20 - 30 นาทีทุกวัน โดยใส่เครื่องพยุง เช่น ข้อเท้าและข้อเข่า เลือกรองเท้าที่เหมาะกับการเดิน ย่อมช่วย

ป้องกันการล้มและการบาดเจ็บของข้อต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ความเร็วในการเดินยังเป็นตัวพยากรณ์อายุขัย

(Mortality) ได้ดว้ย โดยพบว่าผู้สูงอายุในวัย 75 ปีที่เดินช้าเสียชีวิตเร็วกว่าผู้สูงอายุที่เดินด้วยความเร็วปกติถึง

6 ปีและเสียชีวิตเร็วกว่าผู้สูงอายุที่เดินเร็ว 10 ปี ดังนั้นการตรวจประเมินสมรรถภาพผู้สูงอายุ ด้วยการวัด

ความเร็วในการเดิน 4 Meter Gait Speed Test โดยแพทย์เฉพาะทางจะช่วยให้ทราบถึงสมรรถภาพที่แท้จริง

และการเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสม

7

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

Cr : https://www.google.com/search?rlz=1C1CHBF_enTH752TH752&biw=1920&bih=888&tbm=isch&sxsrf=ACYBGNRrwU3x5U5QXBsr9LeIDSKOQVOxqA%3A1570113275882&sa=1&ei=-

waWXf_CNdeR9QPunYTQDA&q=5+sensation+elderly+tounge&oq=5+sensation+elderly+tounge&gs_l=img.3...18119.25962..26431...0.0..0.104.622.5j2......0....1..gws-wiz-

img.5NVvmtABkIw&ved=0ahUKEwi_rMPgp4DlAhXXSH0KHe4OAcoQ4dUDCAc&uact=5#imgrc=_

6) ประสาทสัมผัส (Sensory changes)

หู การได้ยินลดลง มีอาการหูตึงมากขึ้น การเสื่อมของอวัยวะในหูชั้นในมีมากข้ึน เสียงพูดเปลี่ยนไป

เพราะกล้ามเนื้อกล่องเสียงและสายเสียงบางลง ระดับเสียงสูงจะได้ยินน้อยกว่าระดับเสียงต่ า มีข้อมูลวิจัยระบุ

ว่า การสูญเสียการได้ยินในผู้สูงอายุจะเสียเสียงสูงก่อน นอกจากนี้ยังอาจเกิดอาการเวียนศีรษะและเคลื่อนไหว

ไม่คล่อง เนื่องจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในมีภาวะแข็งตัว

ตา การมองเห็นไม่ดีเหมือนเคย เนื่องจากรูม่านตาเล็กลงและตอบสนองต่อแสงลดลง หนังตาตก แก้วตา

เริ่มขุ่นมัว เกิดต้อกระจก ลานสายตาแคบ กล้ามเนื้อลูกตาเสื่อม ความไวในการมองภาพลดลง สายตายาว

เวลามืดหรือกลางคืนการมองเห็นจะไม่ดี ตาแห้งและเยื่อบุตาระคายเคืองง่าย

จมูก การดมกลิ่นไม่ดีเหมือนเดิม เนื่องจากเยื่อบุโพรงจมูกเสื่อม ต่อมรับรสท าหน้าที่ลดลง การรับรสของ

ลิ้นเสียไป อาจเกิดภาวะเบื่ออาหาร โดยรสหวานจะเสียก่อนรสเปรี้ยว รสขม และรสเค็ม

7) ระบบขับถ่าย (Changes to excretory system)

จากการเสื่อมของเซลล์และกล้ามเนื้อหูรูดต่าง ๆ ท าให้เกิดปัญหาระบบขับถ่ายปัสสาวะ มีอาการกลั้น

ปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะบ่อย ผู้หญิงจะเป็นมากกว่าและรุนแรงกว่าผู้ชาย เนื่องจากหมด

ประจ าเดือนถาวร ท าให้ขาดฮอร์โมนเพศ

8

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

อุจจาระ ไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้ ที่ส าคัญคือท้องผูกเป็นประจ า เนื่องจากกระเพาะอาหารและล าไส้

ลดการบีบตัวตามอายุ เคลื่อนไหวน้อย ไม่ออกก าลังกาย ทานผักผลไม้น้อย ดื่มน้ าน้อย รวมถึงอาจเป็นจาก

ผลข้างเคียงของยาที่ทานเข้าไป

8) กระดูกพรุน (Senile Osteoporosis)

ปัญหากระดูกของผู้สูงอายุ คือ แคลเซียมจะสลายออกจากกระดูกมากข้ึน ท าให้น้ าหนักกระดูกลดลง

เปราะ หักง่าย ความยาวกระดูกสันหลังลดลง หมอนรองกระดูกบางลง หลังค่อมมากข้ึน ความสูงลดลง

เคลื่อนไหวข้อไม่สะดวก ตึง แข็ง อักเสบ ติดเชื้อง่ายขึ้น ดังนั้นหากออกก าลังกายประจ าจะช่วยลดความเบา

บางของมวลกระดูกได้ รวมทั้งการทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ที่ส าคัญคือการตรวจเช็กกับแพทย์เฉพาะทาง

เพ่ือป้องกันและรับมือกับปัญหากระดูกพรุนได้ถูกวิธี

Cr : https://www.google.com/search?rlz=1C1CHBF_enTH752TH752&biw=1920&bih=888&tbm=isch&sxsrf=ACYBGNRrwU3x5U5QXBsr9LeIDSKOQVOxqA%3A1570113275882&sa=1&ei=-

waWXf_CNdeR9QPunYTQDA&q=5+sensation+elderly+tounge&oq=5+sensation+elderly+tounge&gs_l=img.3...18119.25962..26431...0.0..0.104.622.5j2......0....1..gws-wiz-

img.5NVvmtABkIw&ved=0ahUKEwi_rMPgp4DlAhXXSH0KHe4OAcoQ4dUDCAc&uact=5#imgrc=_

9) ท่าทรงตัว (Posture change)

ท่าทางของผู้สูงอายุในการด าเนินชีวิตประจ าวันมีความส าคัญ เพราะอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายต้อง

ท างานร่วมกัน ที่ส าคัญท่าทรงตัวที่ดีส่งผลต่อความคล่องตัวในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งปัญหาที่พบค่อนข้าง

บ่อย เช่น เดินแอ่นหลัง เดินหลังค่อม เดินเซ ก้าวเท้าสั้นลง ขณะก้าวปลายเท้าจะออกด้านข้างมากกว่าหนุ่ม

สาว เป็นต้น ซึ่งสามารถท าให้ดีขึ้นได้โดยการท ากายภาพ เพ่ือให้มีการเคลื่อนไหวที่คล่องตัวและเหมาะสม

ทั้งนี้ข้ึนอยู่กับสรีระของแต่ละบุคคลด้วย ดังนั้นควรเข้ารับการตรวจประเมินการทรงตัวส าหรับผู้สูงอายุ ด้วย

การตรวจ Tandem Standing Test ร่วมกับการตรวจประเมินอ่ืน ๆ ตามการวินิจฉัยของแพทย์เฉพาะทาง

เพ่ือจะได้เคลื่อนไหวและออกก าลังกายได้ถูกท่า

9

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

10) ความอึด (Endurance)

เมื่ออายุเพ่ิมมากข้ึนความอึดย่อมลดลง ยกตัวอย่างเช่น เมื่ออายุ 25 ปี และอายุ 35 ปีขณะที่ข้ึนบันได

ในจ านวนขั้นที่เท่ากัน ความอึดอาจไม่เท่ากัน ในวัย 35 ปีอาจจะรู้สึกเหนื่อยง่ายมากข้ึนและอดทนได้น้อยกว่า

เป็นต้น เพราะฉะนั้นการออกก าลังกายเพ่ิมความทนทานของกล้ามเนื้อ อย่างการเดินเร็วหรือวิ่งเหยาะ ๆ จะ

ช่วยเพิ่มความทนทานของระบบไหลเวียนเลือดและการท างานของปอด เนื่องจากมีการใช้ออกซิเจนสันดาป

ไขมันสร้างพลังงานให้กล้ามเนื้อ เป็นต้น โดยต้องเลือกชนิดการฝึกที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายและสิ่งแวดล้อม

ซึ่งจ าเป็นต้องเข้ารับการตรวจประเมินสมรรถภาพ ก าลังกล้ามเนื้อ การทรงตัว ความเสี่ยงในการล้มโดยแพทย์

เฉพาะทางเพ่ือดูแลตนเองอย่างถูกต้อง

Cr : https://www.google.com/search?rlz=1C1CHBF_enTH752TH752&biw=1920&bih=888&tbm=isch&sxsrf=ACYBGNRrwU3x5U5QXBsr9LeIDSKOQVOxqA%3A1570113275882&sa=1&ei=-

waWXf_CNdeR9QPunYTQDA&q=5+sensation+elderly+tounge&oq=5+sensation+elderly+tounge&gs_l=img.3...18119.25962..26431...0.0..0.104.622.5j2......0....1..gws-wiz-

img.5NVvmtABkIw&ved=0ahUKEwi_rMPgp4DlAhXXSH0KHe4OAcoQ4dUDCAc&uact=5#imgrc=_

ร่างกายคนเราต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือนอน โดยปกติการเคลื่อนไหวของ

ร่างกายมีอยู่ 3 ส่วนหลัก คือ สมองและประสาท กระดูกและข้อ และกระดูกสันหลัง ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะท างาน

ประสานกัน ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ แต่ถ้าเกิดโรคหรือได้รับอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุก็อาจท าให้

ร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามต้องการ นั่นคือสัญญาณฉุกเฉินของร่างกาย ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษา

อย่างถูกวิธีอาจส่งผลเสียต่อชีวิตในระยะยาว อีกท้ังความเสื่อมของร่างกายท่ีเกิดข้ึนได้ก่อนก าหนด

10 อันดับโรคที่อาจจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวได้ในระยะยาว

1) โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือ Stroke

10

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

ปัจจุบันพบเร็วขึ้นในกลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป มักพบในผู้ป่วยเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันสูง ไขมันในเลือด

สูง สูบบุหรี่จัด หรือมีคนในครอบครัวเคยเป็น Stroke มาก่อน อาการเริ่มต้นคือ หน้าหรือปากเบี้ยว มุมปากตก

ชาครึ่งซีก แขนขาไม่มีแรง พูดไม่ชัด หรือพูดไม่ออก ปวดศีรษะเฉียบพลัน เวียนศีรษะ เดินเซ ตาพร่า เมื่อเกิด

อาการอย่างใดอย่างหนึ่งต้องรีบพบแพทย์ภายใน 3 ชั่วโมงเพ่ือรับการรักษาทันที ส าหรับการป้องกันก่อนเกิด

Stroke นั้น ควรรับการตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดคอ (Carotid Duplex) เพ่ือตรวจหาภาวะการตีบตัน

ของหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมองเป็นประจ าทุกปี ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาต

2) โรคพาร์กินสัน

เป็นโรคความเสื่อมของสมองที่เกิดจากการขาดสารโดพามีน พบมากในคนอายุ 60 ปีขึ้นไป และอาจพบ

ในวัยกลางคนที่มีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มาก่อน มักเริ่มด้วยอาการสั่นที่แขนขา กราม หรือใบหน้า

กล้ามเนื้อเกร็ง เคลื่อนไหวช้า พูดหรือกลืนล าบาก ซึมเศร้าหดหู่ หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นอาการปกติของ

ผู้สูงอายุ แต่หากปล่อยไว้จนเกิดความรุนแรงมากขึ้นจะท าให้ร่างกายฟ้ืนตัวยาก โรคนี้สามารถควบคุมอาการได้

โดยการตรวจ PET Brain F-DOPA หาความผิดปกติของสมองส่วนที่สร้างสารโดพามีน เพ่ือวินิจฉัยระยะความ

รุนแรงของโรค หรือการผ่าตัดฝังไมโครชิพ กระตุ้นสมองส่วนลึก DBS Therapy เพ่ือควบคุมการเคลื่อนไหว ลด

การใช้ยา ท าให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจ าวันได้ดีขึ้น

3) โรคกระดูกต้นคอเสื่อม (Text Neck)

เกิดจากการ “ก้มหน้า” (จนหูต่ าลงมาเกือบแนวเดียวกับไหล่) บ่อย ๆ ซ้ า ๆ นาน ๆ จนท าให้กล้ามเนื้อ

เส้นประสาท และเส้นเอ็นตึง เกร็ง เครียด อาการท่ีพบบ่อยอาจเป็นเพียงแค่อาการปวดต้นคอน ามาก่อน

ลักษณะคล้ายกับการนอนตกหมอน หรือหากมีการกดทับรากประสาทอาจมีอาการปวดชาหรืออ่อนแรงของ

กล้ามเนื้อแขนร่วมด้วยจนต้องมาพบแพทย์ ต่างกับการกดทับที่เกิดขึ้นกับไขสันหลังผู้ป่วย มักจะไม่มีอาการ

ปวดร่วมด้วย แต่จะพบว่ามีการเคลื่อนไหวผิดปกติ เช่น เดินล าบาก ทรงตัวไม่ม่ันคง ล้มบ่อย เดินช้าลง แขนขา

สั่นกระตุก ซึ่งหากปล่อยให้โรคด าเนินไปมากแล้วไม่มาพบแพทย์ อาจท าให้การเคลื่อนไหวผิดปกติจนอาจเดิน

ไม่ได้ในที่สุด

4) กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน

สามารถเกิดได้ทุกช่วงวัย เด็กมักกระดูกหักจากการเล่นซน ผู้ใหญ่มักเกิดจากอุบัติเหตุ ผู้สูงวัยมักเกิด

กระดูกหักจากกระดูกพรุน เพราะมวลกระดูกท่ีเปราะบาง เพียงลื่นหกล้มก็หักได้ง่าย อาการกระดูกหักมักเห็น

ชัดเจน บวม ปวด ไม่สามารถลงน้ าหนักหรือเคลื่อนไหวได้บริเวณท่ีหัก โดยเฉพาะกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ

มีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นจึงควรตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกทุกปี

เพ่ือป้องกันกระดูกทรุดตัว ควรเสริมความแข็งแรงของกระดูกด้วยการออกก าลังกาย ทานอาหารแคลเซียมสูง

ตั้งแต่อายุยังน้อย การรักษาในปัจจุบันใช้เทคนิคผ่าตัดเชื่อมกระดูกหักแบบแผลเล็ก เปิดแผลเล็กหัวท้ายของ

ต าแหน่งกระดูกที่หักแล้วสอดเหล็กดามใต้กล้ามเนื้อคล้ายขบวนรถไฟใต้ดิน แล้วยึดกระดูกด้วยสกรูว์ วิธีนี้

11

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

เนื้อเยื่อจะได้รับบาดเจ็บน้อยกว่าผ่าเปิดแผลยาว ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ กระดูกติดดี ฟ้ืนตัวเร็วขึ้น

หากมีกระดูกพรุนหักยุบและปวดหลังมากอาจรักษาด้วยการฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกสันหลัง

5) ข้อไหล่ติด

พบมากในชายและหญิงวัยสูงอายุที่มีความเสื่อมของเอ็นรอบข้อและปลายกระดูกไหปลาร้าที่อยู่ติดกับ

ข้อ มีหินปูนเกาะไปขูดเอ็นรอบข้อจนอักเสบ หรือจากกระดูกงอกบริเวณกระดูกสะบักด้านหน้า หรือเคยได้รับ

อุบัติเหตุข้อไหล่เคลื่อน มักมีอาการปวดหัวไหล่ ปวดร้าวลงมาบริเวณต้นแขน ปวดเวลาใส่เสื้อ ถอดเสื้อ เวลา

ยกแขนขึ้นสูง จะยิ่งปวดมากข้ึนเวลานอน ท าให้นอนตะแคงทับหัวไหล่ข้างที่ปวดไม่ได้ พลิกตัวไม่ได้ ข้อไหล่ติด

หรือเคลื่อนไหวไม่สุด หากเป็นมากอาจไม่สามารถยกแขนเพ่ือหวีผมได้ สามารถรักษาเบื้องต้นโดยการใช้ยาและ

บริหารข้อไหล่ กายภาพบ าบัด ถ้าไม่ทุเลาและตรวจพบว่ามีกระดูกงอกไปที่ไหปลาร้า แนะน าให้รักษาโดยการ

ผ่าตัดส่องกล้องเพ่ือกรอกระดูกท่ีงอกบริเวณไหล่และเย็บซ่อมเอ็นหุ้มข้อไหล่ วิธีนี้แผลเล็ก พักฟ้ืนสั้น ช่วยรักษา

อาการปวดและข้อไหล่ติดให้หายได้ในเวลาที่รวดเร็ว

6) ข้อเข่าคลอนแคลน

หรือโรคข้อเข่าเสื่อมตามวัย มักพบในหญิงอายุ 60 ปีขึ้นไป และพบเข่าเสื่อมก่อนวัยเพิ่มข้ึนในหนุ่มสาว

วัยท างาน นักวิ่ง นักฟุตบอลที่ใช้เข่าเยอะ หรือบาดเจ็บหัวเข่าบ่อย อ้วน กระดูกอ่อนผิวข้ออักเสบจากการสวม

รองเท้าส้นสูงนาน ๆ โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ นั่งพับเพียบ ขัดสมาธิ คุกเข่า หรือนั่งยอง ๆ นาน ๆ เข่าเสื่อม

จากอุบัติเหตุ ท าให้เข่าหลวม รวมถึงการดื่มสุรา สูบบุหรี่จัด ทานยาสเตียรอยด์ มักมีอาการปวด อักเสบบวม

แดง ร้อนที่ข้อ ข้อฝืดตอนเช้าขณะลุกข้ึนยืนจะมีเสียงในข้อขณะเคลื่อนไหว เมื่อยตึงที่น่องและข้อพับเข่า ข้อ

เข่าขัดเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่ เจ็บเมื่อลงน้ าหนัก เข่าโก่ง หากทานยาแก้ปวดหรือกายภาพแล้วไม่หาย ควร

ปรึกษาแพทย์เฉพาะด้านข้อเข่าเพ่ือดูว่าเข่าสึกมากน้อยแค่ไหน หากกระดูกอ่อนผิวข้อสึกท่ัวข้อเข่า แพทย์อาจ

แนะน าให้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยคอมพิวเตอร์น าวิถีแบบไม่เจาะกระดูก Pinless Navigating TKR ช่วย

ให้วางต าแหน่งข้อเทียมถูกต้อง ลดการติดเชื้อหรือกระดูกหักในผู้สูงวัย และผ่าตัดแล้วหัดเดินในสภาวะไร้

น้ าหนักด้วยเครื่อง Alter – G

7) ข้อสะโพกโยกแยก

ส าหรับใครที่มีอาการปวดง่ามขาด้านหน้าข้างใดข้างหนึ่ง เจ็บแปล๊บที่ข้อสะโพกขณะเดินหรือวิ่ง ปวด

สะโพกและปวดเข่า (บางคนปวดเข่าก่อนปวดสะโพกคล้ายโรคปวดหลัง) ปวดในเข่าด้านใน เจ็บเวลาเดิน พึง

ระวังเพราะนั่นคือสัญญาณเตือนของอาการข้อสะโพกเสื่อม ส่วนใหญ่มักพบในผู้สูงวัยจากการสึกหรอของผิวข้อ

ต่อ การทรุดตัวของหัวกระดูกต้นขา กระดูกสะโพกหัก ส่วนวัยกลางคน 80% มีปัญหาข้อสะโพกเสื่อม เพราะ

ขาดเลือดเลี้ยงส่วนหัวของกระดูกต้นขา ดื่มสุรา สูบบุหรี่จัด ทานยาสเตียรอยด์ เกิดอุบัติเหตุข้อหลุด โรครูมา

ตอยด์ โรคข้อยึดติดแข็ง โรคติดเชื้อในเด็กเกิดจากสะโพกหลวมตั้งแต่ก าเนิด หรือเบ้าสะโพกตื้นท าให้ข้อหลวม

12

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

หลุด ส่งผลให้หลังคด ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน เดินโยกเยกได้ ปัจจุบันการผ่าตัดข้อสะโพกเทียมใช้เทคนิคแผลเล็ก

เพ่ือยืดอายุการใช้งานของข้อสะโพกเทียมรุ่นใหม่ให้ยาวนานขึ้น และฟ้ืนตัวเร็วด้วยโปรแกรมลดปวด

8) หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หลายคนคงเคยทรมานกับอาการปวดหลังร้าวลงขาไปถึงน่องหรือหลังเท้าข้างใดข้างหนึ่ง บางคนเจ็บข้อ

พับเข่าด้านหลัง ปวดน่อง นิ้วเท้าชาหลังเล่นกีฬาแล้วเข้าใจผิดคิดว่ากล้ามเนื้ออักเสบ แต่เมื่อตรวจอย่าง

ละเอียดด้วย MRI แล้วพบว่าเป็นโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท แพทย์จะแนะน าให้ทานยา ท ากายภาพ

หรือลดอาการปวดโดยไม่ผ่าตัด “อินเตอร์เวนชั่น” วิธีนี้ลดการทานยาแก้ปวด โดยฉีดยาลดการอักเสบเข้าช่อง

เส้นประสาทเฉพาะจุด ลดอาการปวดร้าวตามเส้นประสาท ใช้รักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

กระดูกสันหลังทับเส้นประสาทจากความเสื่อม กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทที่คอหรือเอวได้ ท าให้ลด

โอกาสการถูกผ่าตัดลงได้ นอกจากนี้ ด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดที่พัฒนา “กระดูกสันหลังแบบแผลเล็ก บาดเจ็บ

น้อย (MIS)” ยังช่วยท าให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว กลับไปใช้ชีวิตประจ าวันได้ ลดความเสี่ยงของการผ่าตัดบางประการ

ลงได้ เช่น อัตราการติดเชื้อหลังผ่าตัดต่ า เสียเลือดจากการผ่าตัดน้อยลง

9) โรคปวดศีรษะไมเกรน

พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการปวดตุ๊บ ๆ เป็น ๆ หาย ๆ ปวดข้างเดียวที่หน้าผาก ขมับท้ายทอย

คลื่นไส้อาเจียน ไวต่อเสียงและแสง คือ อาการน าของปวดศีรษะไมเกรน ต่างจากปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว

ที่จะปวดทั้งสองข้างเหมือนถูกรัดบีบหัว หลายคนมักคิดว่าทานยาแก้ปวดเดี๋ยวก็หาย จึงรักษาไม่ถูกชนิดของ

โรค หากปวดมาก เรามีตัวช่วยด้วยการรักษาอาการปวดศีรษะแบบเชิงป้องกัน ฝึกผ่อนคลายลดเครียดกับ

Biofeedback กายภาพบ าบัดลดปวดด้วย Laser Therapy Posture Analysis ปรับสมดุลกล้ามเนื้อคอบ่า

หลังให้ถูกวิธี เครื่อง TMS กระตุ้นกระแสไฟฟ้าลดปวด ฉีดยาระงับปวดที่เส้นประสาทหลังศีรษะ ลดการ

กลับมาปวดซ้ าใน 24 ชม. หรือฝังเข็มแพทย์แผนจีนกระตุ้นการไหลเวียนลดความถี่ของอาการปวดได้

10) โรคนอนกรน

เป็นสิ่งที่เราไม่ควรละเลย เพราะเสียงกรนขณะหลับ อาการสะดุ้งตื่นตอนดึก ขาขยุกขยิก อ่อนเพลีย

ปวดหัวเมื่อตื่น ง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน ส่งผลให้เรียนหรือท างานได้ไม่เต็มที่ ความจ าแย่ ตื่นสาย

นอนหลับในขณะขับรถอาจเกิดอุบัติเหตุในท้องถนนได้ อาจเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับได้ นอกจากนั้นจะมี

อัตราเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด ภาวะหัวใจเต้น

ผิดจังหวะ โรคความดันโลหิตในปอดสูง โรคหลอดเลือดในสมอง อย่าลืมว่าคนที่อ้วนมากๆ จะนอนกรนทุกคน

แต่คนผอมๆ ก็มีโอกาสนอนกรนได้เช่นกัน หากมีความผิดปกติของการนอนหลับควรปรึกษาแพทย์เฉพาะ

ทางดา้นการนอนเพ่ือรับการตรวจการนอนหลับด้วยเครื่อง Sleep Lab

ปัญหาด้านการเคลื่อนไหวส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจ าวันอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับ

บาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือผู้สูงวัยที่มีปัญหาข้อเสื่อมที่จ าเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษา เช่น กระดูกสันหลัง

13

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

กระดูกแขนขา ข้อไหล่และเส้นเอ็น ข้อเข่าและเส้นเอ็น ข้อสะโพก ข้อเท้า ซึ่งการดูแลฟื้นฟูเพ่ือให้กลับมา

เคลื่อนไหวได้ดังเดิม คือหัวใจส าคัญของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว

เป้าหมายในการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีปญัหาในการเคลื่อนไหว

เป้าหมายที่ส าคัญ ได้แก่

1) ลดอาการเจ็บปวดอย่างเห็นผล

2) ท าให้กระดูกเชื่อมติดในลักษณะเดิมหรือใกล้เคียงปกติ

3) ดูแลข้อที่ผ่าตัดใส่ข้อเทียมให้แข็งแรงและมีประสิทธิภาพ สามารถใช้งานได้เทียบเท่าปกติ

4) ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดข้ึน เช่น ข้อหลุด ข้อเคลื่อน การติดเชื้อ ฯลฯ

5) ฟ้ืนฟูกล้ามเนื้อรอบข้อที่มีหน้าที่ช่วยพยุงข้อให้มีความแข็งแรงและสมดุล

ดูแลฟื้นฟูอย่างทันท่วงที

การดูแลฟ้ืนฟูผู้ป่วยกระดูกและข้อนั้น สิ่งส าคัญคือการฟื้นฟูหลังผ่าตัดรักษาทันที เพื่อให้การท างานของ

ส่วนที่ผ่าตัดกลับมาเป็นปกติโดยเร็ว ซึ่งต้องอาศัยความช านาญของแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพ ทั้ง

ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู แพทย์อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ นักกายภาพบ าบัด นัก

กิจกรรมบ าบัด เพ่ือการดูแลรักษาอย่างสมบูรณ์แบบองค์รวม โดยสิ่งส าคัญคือการดูแลรักษาตั้งแต่หลังผ่าตัดจน

เกิดการเชื่อมติดของกระดูก ส่งเสริมการเคลื่อนไหวของกระดูกและข้อ ฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและ

ท่าทางในการเคลื่อนไหว โดยการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการกายภาพบ าบัดและการออกก าลังกายใน

ระยะเวลาที่เหมาะสม รวมทั้งการฝึกกิจวัตรประจ าวันเพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้โดยเร็ว ซึ่ง

รูปแบบการฟ้ืนฟูจะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ การผ่าตัด และภาวะของผู้ป่วยแต่ละบุคคล

ฝึกเคลื่อนไหวหลังผ่าตัด

การฝึกเคลื่อนไหวหลังผ่าตัดที่ส าคัญคือ การฝึกเดิน เพราะแม้บางครั้งผู้ป่วยจะสามารถกลับบ้านได้ แต่

หากสภาพแวดล้อมที่บ้านไม่ได้อ านวยความสะดวกในการฝึกเดิน การอยู่ฝึกกับแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพที่

มีความช านาญในสถานที่ท่ีมีความพร้อมคือสิ่งส าคัญ การฝึกเดินนั้นช่วยกระตุ้นการท างานของกระดูกและ

กล้ามเนื้อ ตลอดจนสร้างเสริมจิตใจ ท าให้ผู้ป่วยรู้สึกพ่ึงพาตนเองได้ ซึ่งการลงน้ าหนักของขาข้างที่มีกระดูกหัก

หรือมีการเปลี่ยนข้อคือหัวใจส าคัญของการฝึก ซึ่งจะต้องพิจารณาต าแหน่งและลักษณะของกระดูกหักและการ

ผ่าตัดอย่างละเอียด โดยแบ่งออกเป็นการเดินที่ไม่ลงน้ าหนักในขาข้างที่มีการผ่าตัด การเดินลงน้ าหนักเพียง

บางส่วน และการเดินลงน้ าหนักเท่าที่ผู้ป่วยสามารถท าได้ ไปถึงการลงน้ าหนักเต็มที่ นอกจากนี้ต้องมีการ

ประเมินและฝึกด้านอ่ืน ๆ ที่ช่วยส่งเสริมการเคลื่อนไหว เช่น การฝึกการทรงตัวเพ่ือให้สามารถเคลื่อนไหวได้

อย่างมั่นคง ป้องกันการหกล้ม การฝึกใช้เครื่องช่วยเดินต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

ในการฝึกจะมุ่งเน้นการเคลื่อนไหวในรูปแบบใกล้เคียงกับท่ีผู้ป่วยต้องกลับไปใช้ชีวิต เช่น ฝึกเดินทางราบ

ฝึกขึน้ลงบันได ฝึกการใช้ห้องน้ า เป็นต้น รวมถึงการฟ้ืนฟูด้านจิตใจด้วยกิจกรรมที่ท าให้เกิดการผ่อนคลาย ลด

14

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

ความกังวล ป้องกันความเครียด ซึ่งในระยะฟ้ืนฟูของผู้ป่วยกระดูก บุคลากรที่มีความช านาญและอุปกรณ์ช่วย

ฝึกที่ครบทุกข้ันตอนมีความส าคัญมากในการฟื้นฟูการเคลื่อนไหว

เป้าหมายในการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยระบบประสาทผิดปกติ

เป้าหมายที่ส าคัญที่สุดคือ ท าให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ประกอบด้วย

1) ผู้ป่วยสามารถกลับไปท ากิจวัตรประจ าวันกับครอบครัวได้เป็นปกติ

2) ผู้ป่วยสามารถดึงศักยภาพออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ในการท ากิจกรรมต่าง ๆ

3) สมองและกล้ามเนื้อถูกกระตุ้นและพัฒนาความสามารถในระยะยาว

4) ไม่เกิดความพิการซ้ าซ้อน

5) ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียง

ช่วงเวลาส าคัญของการดูแล

หลังผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมองผ่านช่วงวิกฤติ ระยะเวลาที่ได้ผลดีในการฟื้นฟูสมองและร่างกาย (Golden

Period) คือ ไม่เกิน 3 - 6 เดือนแรกหลังเกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก เพราะสมองสามารถฝึกและ

พัฒนาได้ดีที่สุด หากผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง สมองจะฟ้ืนตัวไวและสามารถแสดงศักยภาพที่เหลืออยู่

ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามหากผ่าน 6 เดือนไปแล้ว แม้สมองจะมีอัตราการพัฒนาที่น้อยลง แต่ก็ยังสามารถ

พัฒนาต่อไปได้เรื่อย ๆ ถ้าได้รับการฝึกอย่างต่อเนื่อง

การได้รับการดูแลด้วยบุคลากรหลากหลายสาขาวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นอายุรแพทย์ระบบประสาท อายุร

แพทย์ผู้สูงอายุ ศัลยแพทย์ระบบประสาท แพทย์เวชศาสตร์ฟ้ืนฟู พยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบ าบัด

นักกิจกรรมบ าบัด รวมถึงความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้ดูแลและญาติในกระบวนการต่าง ๆ ในการดูแลผู้ป่วย ย่อม

ช่วยฟื้นฟูสมองของผู้ป่วยได้อย่างเต็มศักยภาพและมีคุณภาพ

วางแผนดูแลผู้ป่วยสมอง

ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมอง แพทย์ผู้ช านาญการจะวางเป้าหมายในระยะสั้นและระยะยาว

ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วย ญาติและผู้ดูแล เพื่อให้การดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดย

จะมีการประชุมทีมทุกสัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของผู้ป่วยเป็นส าคัญ โดยจะดูแลทั้งด้าน

ร่างกายและจิตใจ ได้แก่

ด้านร่างกาย

การดูแลฟ้ืนฟูผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมองในด้านร่างกาย มีตั้งแต่การฝึกนั่ง ยืน เดิน ขึ้นลงบันได การ

เคลื่อนไหวมือและแขน การฝึกท ากิจวัตรประจ าวันต่าง ๆ เช่น การสวมเสื้อผ้า การรับประทานอาหาร การฝึก

กลืน การดูแลการนอน การจัดท่านอน การบริหารกล้ามเนื้อและข้อ การฝึกสื่อสารทั้งการพูดและการฟัง

ด้านจิตใจ

15

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

การดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมองในด้านจิตใจมีความส าคัญมาก เพราะผู้ป่วยมักมีความกังวลจากการ

สูญเสียสมรรถภาพไปโดยไม่ทันคาดคิด รวมถึงภาวะซึมเศร้า ขาดการควบคุมอารมณ์ ท าให้โกรธง่าย หงุดหงิด

ง่าย ขึ้นอยู่กับพ้ืนฐานและภาวะของโรคในผู้ป่วยแต่ละบุคคล ดังนั้นการให้ก าลังใจ การจัดกิจกรรมสันทนาการ

และการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกวิธีตามค าแนะน าของแพทย์เฉพาะทางคือสิ่งส าคัญ

ผู้ดูแลคอืคนส าคญั

ผู้ดูแล (Caregiver) คือหัวใจส าคัญในการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมอง เพราะการดูแลผู้ป่วยอย่าง

ใกล้ชิด การปรับบ้านและสภาพแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะกับผู้ป่วย ย่อมต้องอาศัยความร่วมมือจากญาติหรือคน

ในครอบครัว ซึ่งการเรียนรู้หลักการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคสมองอย่างถูกต้องจากทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความ

ช านาญ มีส่วนส าคัญท่ีช่วยให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้และพัฒนา กระตุ้นสมองให้สร้างเซลล์ใหม่มาทดแทนเซลล์

เดิมที่สูญเสียไปได้อย่างมีศักยภาพ โดยสิ่งส าคัญที่ผู้ดูแลต้องมีคือ ทักษะในการฝึกฝนผู้ป่วย กระตุ้นให้ผู้ป่วยท า

กิจกรรมต่าง ๆ เช่น ท ากิจวัตรประจ าวัน ท ากับข้าวเมนูง่าย ๆ งานประดิษฐ์ง่าย ๆ ตลอดจนเล่นเกมกระตุ้น

ความจ า มีส่วนส าคัญในการพัฒนาสมองและกล้ามเนื้อของผู้ป่วย นอกจากนี้ผู้ดูแลต้องหมั่นสังเกตสภาพจิตใจ

และอารมณ์ของผู้ป่วย และสามารถปรับกิจกรรมการฝึกได้อย่างเหมาะสมในช่วงเวลานั้น ๆ โดยผู้ดูแลที่ได้รับ

การฝึกฝนมาเป็นอย่างดีมีความส าคัญในการสร้างความเข้าใจ ความเชื่อมั่น และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่าง

รวดเร็ว โดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

ในช่วงระยะฟ้ืนฟูของผู้ป่วยกลุ่มโรคสมองก่อนกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านนั้น โรงพยาบาลที่พร้อมด้วยบุคลากร

เครือ่งมือและอุปกรณ์ในการฝึกท่ีครบในทุกขั้นตอนของการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยเป็นตัวช่วยส าคัญในการดูแลผู้ป่วย

กลุ่มโรคสมองในระยะเปลี่ยนผ่านหลังจากผ่านภาวะวิกฤติให้กลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติอีกครั้ง

16

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ

เอกสารอ้างอิง

I. ธันยาภรณ์ ตันสกุล. 10 ความเสี่ยงจากความเสื่อม.สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2562 เวลา 21.00 น.จาก

https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/10-risk-of-deterioration

II. ธันยาภรณ์ ตันสกุล. ส่อง 10 โรคที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวระยะยาว.สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2562 เวลา

21.00 น.จาก https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/10-diseases-

affecting-the-movement

III. ประเสริฐ อัสสันตชัย.การเปลี่ยนแปลงระบบประสาทในผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2562เวลา

20.30 น. จาก

https://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/knowledge_article/knowledge_health

y_2_008.html

IV. อนุวัตร วัลลภาพันธุ์. คืนการเคลื่อนไหว เติมเต็มคุณภาพชีวิต.สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2562 เวลา 21.30

น.จาก https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/bring-back-your-

move-complete-quality-of-life

V. อนุวัตร วัลลภาพันธุ์. ฟ้ืนฟูผู้ป่วยสมอง ฟื้นคืนชีวิตใหม่.สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2562 เวลา 21.30 น.จาก

https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/rehabilitation-of-brain-

patients

17

เอกสารประกอบการสอนวิชา PNC 1110 การช่วยเหลือดแูลผูใ้หญ่และผูส้งูอาย ุอ.เพ็ชรตัน ์เตชาทวีวรรณ